Critical Thinking เคล็ดไม่ลับแก้ปัญหาในการทำงานอย่างชาญฉลาด

  • 08 พ.ค. 2567
  • 1946
Critical Thinking  คนทำงาน ทักษะคนทำงาน  จิตวิทยา

ทำความรู้จักกับคำว่า Critical Thinking ว่าคืออะไร? 

Critical Thinking หรือ การคิดแบบมีวิจารณญาณ หมายถึง ความสามารถในการคิดอย่างถี่ถ้วนและมีเหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่เราทำและสิ่งที่เราเชื่อ

ความสำคัญของ Critical Thinking 

หลักการของ Critical Thinking คืออะไรทำไมจึงมีความสำคัญมาก โดยในปัจุบันนี้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็วการมี Critical Thinking จึงถือเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานซึ่งจะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน ช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด และแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการทำงานในปัจจุบัน

 

 

 

 

Critical Thinking แตกต่างจากการคิดแบบปกติอย่างไร?

Critical Thinking เป็นการคิดที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้านใช้เหตุผลและหลักฐานในการตัดสินใจพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนแนวคิดตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในขณะที่การคิดแบบปกติอาจเป็นการคิดที่รวดเร็วใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาหรืออคติส่วนตัวเป็นหลักและไม่ยืดหยุ่นเท่าที่ควรกระบวนการ Critical Thinking นั้นมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานในปัจจุบันนั้นสำเร็จไปได้ด้วยดีแล้ว Critical Thinking มีขั้นตอนอย่างไร โดยหลักการคิดแบบ Critical Thinking นั้นจะถูกแบ่งออกมาเป็น 5 ขั้นตอนด้วยกันได้แก่ การเข้าใจเป้าหมายในการทำงาน, การทำความเข้าใจข้อมูลที่ได้รับ, การเชื่อมโยงข้อมูล, การวิเคราะห์ข้อมูลรอบด้านและการใช้เหตุผลและหลักฐานในการตัดสินใจโดย  5 ขั้นนี้เป็นกระบวนการง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณคิดแบบมีเหตุผลรอบคอบ และสามารถทำได้จริง

 

1. การเข้าใจเป้าหมายในการทำงาน

การคิดแบบ Critical Thinking ในส่วนนี้จะเป็นการสำรวจและทำความเข้าใจเป้าหมายว่าเราอยากจะคิดวิเคราะห์เรื่องอะไรซึ่งในบางครั้งอาจจะเป็นการวิเคราะห์ตรรกะของความคิดเห็นผู้อื่นเพื่อนร่วมงาน หรือเป็นการพิจารณาเลือกทิศทางการตัดสินใจที่ดีที่สุดในสถานการณ์ในการทำงานตอนนี้ โดยคุณต้องตอบคำถามกับตัวเองได้ว่าคุณมีปัญหาเรื่องอะไรและอยากจะแก้ปัญหาจุดนี้หรือเปล่า

 

2. การทำความเข้าใจข้อมูลที่ได้รับ

หากคุณรู้แล้วว่าคุณอยากจะแก้ไขปัญหาอะไรหลักการคิดแบบ Critical Thinking ในส่วนนี้จะเป็นการเรียบเรียงข้อมูลให้มากที่สุดอาจจะเป็นการหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือการสอบถามข้อมูลจากคนอื่น หรือการคิดหาข้อมูลความรู้จากประสบการณ์ในอดีตของเราโดยคุณจะต้องตอบได้ว่าตัวคุณนั้นต้องรู้เรื่องอะไรบ้าง และต้องใช้เวลาในการหาข้อมูลมากแค่ไหน

 

3. การเชื่อมโยงข้อมูล

ในการเชื่อมโยงข้อมูลหมายความว่าคุณนั้นจะต้องมีข้อมูลสำหรับเชื่อมโยงก่อนเพราะฉะนั้นหากคุณรู้สึกลังเล ตัดสินใจไม่ถูก ส่วนมากจะเป็นเหตุผลมาจากข้อที่ 2 ที่การหาข้อมูลยังหาข้อมูลได้ไม่เพียงพอ หากคุณไม่ได้รีบเร่งตัดสินใจอะไรก็อยากแนะนำให้ค่อย ๆ คิดหาข้อมูลก่อนที่จะเริ่มเชื่อมโยงข้อมูลนะครับ ให้นำเป้าหมายการสร้าง Critical Thinking จากข้อ 1 มาเป็นปัจจัยหลักแล้วค่อยนำข้อมูลต่างมาเชื่อมโยงโดยให้คำนึงถึงข้อจำกัด และความสำคัญในแต่ละกรณีก่อนตัดสินใจด้วย

 

4. การวิเคราะห์ข้อมูลรอบด้าน

ควรพิจารณาข้อมูลจากหลากหลายแหล่งทั้งข้อมูลเชิงประจักษ์ และข้อมูลเชิงทฤษฎีเพื่อให้ได้มุมมองที่ครอบคลุม และสมบูรณ์ในการวิเคราะห์เหตุผลได้ว่าหากเราทำสิ่งนี้ ผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นรูปแบบไหน และมีข้อเสียอะไรบ้าง ซึ่งหากคุณต้องทำงานกับเครื่องจักรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในส่วนนี้คิดง่าย ๆ คือ ถ้าเราอยากขับรถทางไกล เราก็ต้องเติมน้ำก่อนขับรถให้เพียงพอ หรือจะเผื่อเวลาไปเติมน้ำมันระหว่างทาง แต่ในกรณีที่คุณทำงานกับผู้คนปัญหาส่วนมากจะมาจากความไม่เข้าใจมากกว่าซึ่งขอแนะนำให้ลองอ่านเพิ่มเติมเรื่อง วิธีสร้าง Empathy Skill (ทักษะการเห็นใจ) อีกทีนะครับ ยิ่งมีตัวเลือกเยอะ ยิ่งคิดวิเคราะห์เยอะก็จะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงอยากให้ลองพิจารณาดูว่าปัญหาที่พบคู่ควรกับเวลาที่เราต้องใช้ในการพิจารณามากแค่ไหน

 

5. การใช้เหตุผลในการตัดสินใจ

ที่ผ่านมาเราได้ทำการตั้งเป้าหมาย เก็บข้อมูล วิเคราะห์ผลลัพธ์ และในส่วนนี้ก็อาจจะเป็นส่วนที่ง่ายที่สุดของการคิดแบบ Critical Thinking คือ การใช้เหตุผลในการตัดสินใจนำมาใช้ ยิ่งคุณลงรายละเอียดกับการกระทำเยอะ คุณก็จะยิ่งปฏิบัติตามสิ่งที่คุณวิเคราะห์ไว้ได้ดีขึ้น เช่น หากเราจะเติมน้ำมัน เราก็ต้องเตรียมเงินไปด้วย หรือถ้าไม่อยากได้เงินทอนก็จะอาจจะต้องเอาบัตรเครดิตในกรณีที่เป็นการวิเคราะห์ตรรกะความคิดเห็นของผู้อื่น สิ่งที่สำคัญก็คือการหาข้อมูล และพิจารณาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกับการคิดวิเคราะห์ด้วยอาจจะเป็นการกระทำง่าย ๆ เช่น การไม่ต้องไปรับฟังความคิดผู้อื่นตั้งแต่แรกยอมทำตามเพื่อให้ปัญหาจบเร็ว หรือใช้ความพยายามเพื่อเปลี่ยนแปลงความคิดผู้อื่น ซึ่งความท้าทายในการเข้าสังคมมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องหลายส่วน หากคุณไม่เข้าใจอีกฝ่ายจริงก็จะไม่สามารถคาดเดาผลลัพธ์ของการกระทำและคำพูดได้

 

ประโยชน์ของ Critical Thinking 

การมี Critical Thinking นั้นช่วยให้เราสามารถจัดการปัญหา ดังนี้ 

  1. วิเคราะห์ปัญหาในการทำงานได้อย่างรอบด้าน
  2. ตัดสินใจได้อย่างมีตรรกะและมีเหตุผล
  3. แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดมีประสิทธิภาพ
  4. ช่วยให้สามารถปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ดี
  5. เพิ่มความสร้างสรรค์ในทำงานมากขึ้น

สุดท้ายนี้การมี Critical Thinking หรือการคิดแบบมีวิจารณญาณก็เป็นเพียงทักษะอย่างหนึ่งซึ่งทักษะทุกอย่างสามารถฝึกฝนเก็บเกี่ยวประสบการณ์กันได้ การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จในอนาคต  

 

สมัครเรซูเม่ พร้อมสมัครงานทันที

ตำแหน่งงานด่วน เปิดรับมากกว่า 10,000 ตำแหน่ง

 

หางานตามสาขาอาชีพ

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved

jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด DBD

Top